วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อารยธรรมอินเดีย


      อินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดียได้ดังนี้
  • สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
      • เมืองโมเฮนโจดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
      • เมืองฮารับปา ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
  • สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ โดยชนเผ่าอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค
  • ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษร บรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัยราชวงศ์ คุปตะ เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา ได้ถือกำเนิดแล้ว
  • ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง จนถึง ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย
  • ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ
อารยธรรมอินเดีย
  • อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
    • เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเผ่าดราวิเดียน
    • ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง โมเฮนโจดาโร และเมืองฮารับปา
  • สมัยพระเวท
    • เป็นอารยธรรมชนเผ่าอารยัน ที่เข้ายึดครองดราวิเดียนหรือชาวทราวิฑที่ถูกขับไล่ให้ถอยร่นลงทางใต้
    • ชาวอารยันให้กำเนิดศาสนาพราหมณ์ และ ระบบวรรณะ 4
    • วรรณกรรมสำคัญในยุคนี้ ได้แก่
      • คัมภีร์พระเวท เป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ ใช้วิธีท่องจำต่อๆกันมา ประกอบด้วย 4 คัมภีร์คือ ฤคเวท ยชุรเวท ไตรเวท และ อาถรรพเวท
      • มหากาพย์รามายณะ สันนิษฐานว่าแสดงถึงการต่อสู้ระหว่างชาวอารยัน(พระราม) กับชาวทราวิฑ (ทศกัณฑ์) แต่งโดยฤษีวาลมิกิ
      • มหากาพย์มหาภารตยุทธ ว่าด้วยการต่อสู้ของพี่น้องสองตระกูล (ปานฑพ-เการพ)
      • คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทั้งกฎหมาย ศาสนบัญญัติ จารีตประเพณี หลักศีลธรรม
  • สมัยพุทธกาล
    • เกิดศาสนาพุทธ และมีการใช้ภาษาบาลี (มคธ)
    • เกิดศาสนาเชน ผู้ก่อตั้งคือ วรรธมาน มหาวีระ
  • สมัยราชวงศ์เมารยะ
    • พระเจ้าจันทรคุปต์ ได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่น
    • เริ่มการปกครองโดยรวบอำนาจไว้ที่กษัตริย์และเมืองหลวง
    • พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแว่นแคว้นต่างๆ
    • หลังราชวงศ์เมารยะล่มสลาย เกิดการแตกแยกเป็นแว่นแคว้น
  • สมัยราชวงศ์กุษาณะ
    • พวกกุษาณะเป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกราน และตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ
    • ด้านการแพทย์เจริญมากในสมัยพระเจ้ากนิษกะ
    • ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานที่จีนและธิเบต
  • สมัยราชวงศ์คุปตะ
    • พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง
    • เป็นยุคทองของอินเดียทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง ปรัชญา ศาสนา
  • สมัยจักรวรรดิโมกุล
    • พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม
    • เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย
    • พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน และทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา สร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ
    • พระเจ้าซาร์ เจฮัน ทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดและศรัทธาในศาสนาอิสลาม เป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล ที่มีความงดงามยิ่ง
  • สมัยอาณานิคมอังกฤษ
    • ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก และยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง
    • เกิดความแตกแยกภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย
    • ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ
    • สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ
      • รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา
      • การศาล การศึกษา
      • ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามีตาย)
  • สมัยเอกราช
    • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิยมอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี และ เยาวราลห์ เนห์รู เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช
    • มหาตมะ คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ) ในการเรียกร้องเอกราชจนประสบความสำเร็จ
    • หลังจากได้รับเอกราชอินเดียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
    • แต่จากความแตกแยกทางเชื้อชาติและศาสนาทำให้อินเดียต้องแตกแยกเป็นอีก 2 ประเทศคือ ปากีสถาน(เดิมคือปากีสถานตะวันตก)และบังคลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก)

                 ศิลปกรรมอินเดีย มักเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา
  • ด้านสถาปัตยกรรม
    • ซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธารณูประโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
    • ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)
    • สุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย
  • ด้านประติมากรรม เกี่ยวข้องกับศาสนา
    • พระพุทธรูปแบบคันธาระ
    • พระพุทธรูปแบบมถุรา
    • พระพุทธรูปแบบอมราวดี
    • ภาพสลักนูนที่มหาพลิปุลัม ได้รับการยกย่องว่ามหัศจรรย์
  • จิตรกรรม
    • สมัยคุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็น ภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง
  • นาฏศิลป์
    • เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท
  • สังคีตศิลป์
    • ทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ถือเป็นแบบแผนการร้องที่เก่าแก่ที่สุดใน สังคีตศิลป์ของอินเดีย แบ่งเป็นดนตรีศาสนา ดนตรีในราชสำนักและดนตรีท้องถิ่นเครื่องดนตรีสำคัญ คือ วีณา หรือพิณ ใช้สำหรับดีด เวณุ หรือขลุ่ย และกลอง
          การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย
  อารยธรรมอินเดีย แพร่ขยายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วทวีปเอเชีย โดยผ่านทางการค้า ศาสนา การเมือง การทหาร และได้ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมของแต่ละประเทศจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรม สังคมนั้นๆ
     ในเอเชียตะวันออก พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชาวจีนทั้งในฐานะ ศาสนาสำคัญ และในฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของจีน
     ภูมิภาคเอเชียกลาง อารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอดให้เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่อพวกมุสลิมอาหรับ ซึ่งมีอำนาจในตะวันออกกลางนำวิทยาการหลายอย่างของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันอินเดียก็รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เชียและกรีก โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม ประติมากรรม เช่น พระพุทธรูปศิลปะคันธาระซึ่งเป็นอิทธิพลจากกรีก ส่วนอิทธิพลของเปอร์เชีย ปรากฏในรูปการปกครอง สถาปัตยกรรม เช่น พระราชวัง การเจาะภูเขาเป็นถ้ำเพื่อสร้างศาสนสถาน
                              ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย มากที่สุดคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้า พราหมณ์ และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาและนำอารยธรรมมาเผยแพร่ อารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านศาสนา ความเชื่อ การปกครอง ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ ได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้

    สภาพภูมิศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมอารยธรรมอินเดีย
ที่ตั้ง อินเดียมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ดินแดนทางตอนเหนือและตอนใต้ถูกแบ่งแยกจากกันด้วยที่ราบสูงเดคคาน เป็นผลให้ทั้งสองเขตมีความแตกต่างกันทั้งด้านภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ การประกอบอาชีพ และการหล่อหลอมอารยธรรม
ตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาหิมาลัยที่หนาวเย็นและสูงชันกั้นไม่ให้อินเดียติดต่อกับดินแดน อื่นได้สะดวก อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีช่องแคบไคเบอร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือที่ติดต่อกับดินแดนนอื่นทางตะวัน ตกได้ เช่น เปอร์เซีย กรีก และโรมัน ดังนั้นบริเวณอินเดียตอนเหนือจึงรับและผสมผสานอารยธรรมที่เข้ามาทางช่องแคบ ไคเบอร์ ทั้งที่มาจากการติดต่อค้าขายและรุกรานของชาติอื่นๆ เช่น พวกอารยันและมุสลิม
          ตะวันตกและตะวันออก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา และแม่น้ำสาขาของแม่น้ำทั้งสองที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่กาประกอบ เกษตรกรรม โดยเฉพาะแม่น้ำคงคา ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยและนำความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในลุ่ม แม่น้ำ จึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชาวอินเดีย และเป็นบ่อเกิดของศาสนา ความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ในอารยธรรมอินเดีย เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ อนึ่ง ความอุดมสมบูรณ์ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ ทำให้ชนต่างชาติพยายามรุกรานและยึดครองอินเดียตลอดมา
         ตอนกลาง เป็นเขตที่ราบสูงเดคคานที่แห้งแล้งและทุรกันดาร เพาะถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงซึ่งขวางกั้นการติดต่อระหว่างอินเดียเหนือและ อินเดียใต้ แต่ก็นับเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของอินเดีย เพราะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวอินเดีย และยังคงอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้และแร่ธาตุต่างๆ
        ตอนใต้ ไม่สามารถติดต่อกับดินแดนทางตอนเหนือได้สะดวก แต่สามารถติดต่อกับดินแดนอื่นๆนอกประเทศได้ง่าย เนื่องจากมีที่ราบแคบๆ ยาวขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียทั้ง 2 ฝั่ง ประชากรในแถบนี้มีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนอารยธรรมกับดินแดนอื่น เช่น อียิปต์ เมโสโปเตเมีย ลังกา และดินแดนในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมของชาวอินเดียใต้จึงมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากชาวอินเดียทางตอนเหนือ
ภูมิอากาศ อินเดียมีภูมิอากาศแห้งแล้งเพราะฝนตกน้อยประมาณปีละ 4 เดือน และมีอากาศร้อนจัด ปีใดฝนตกน้อยกว่าปกติ การเพาะปลูกจะไม่ได้ผลและเกิดความอดอยาก ในเขตตรงข้าม ปีใดที่ฝนตกมากเกินไปจะเกิดอุทกภัย พืชผลได้รับความเสียหาย อนึ่ง ปีที่มีอากาศร้อนจัดมากๆ เช่น อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไปมักจะเกิดภัยแล้ง พืชผลส่วนใหย่ไม่อาจต้านทานความแห้งแล้งได้เพราะอากาศขาดความชุ่มชื้น สภาพภูมิอากาศจึงมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและความเชื่อของชาวอินเดียวึ่ง ต้องพึ่งพาธรรมชาติ ดังเช่นการบูชาแม่น้ำคงคาว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่นำความชุ่มชื้นและ อุดมสมบูรณ์มาให้ อนึ่ง ลักษณะภูมิอากาศยังทำให้ชาวอินเดียมีความอดทนในการต่อสู้กับความยากลำบาก ด้วยวิธีการต่างๆ พร้อมกับการยอมรับชะตากรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
     การพัฒนาอารยธรรมอินเดียโบราณของกลุ่มต่างๆ
ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ส่งเสริมให้ชนชาติต่างๆ ขยายอิทธิพลเข้ามาครอบครองอินเดีย เป็นผลให้เเกิดการผสมผสานและหล่อหลอมอารยธรรมของชนชาติต่างๆ ที่เข้ามาปกครองอินเดีย ชนชาติที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอารยธรรมอินเดียโบราณ ได้แก่ พวกดราวิเดียน หรือทราวิฑ (Dravidian) และอารยัน (Aryan)
         ดราวิเดียน อารยธรรมอินเดียโบราณเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำสินธุ (อยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน) เมื่อประมาณ 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 4500 ปีมาแล้ว  เรียกกันทั่วไปว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Civilization) จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่ามีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่บริเวณเมืองโมเฮ นโจดาโร (Mohenjo Daro)    และเมืองอารัปปา (Harappa) ในเขตลุ่มแม่น้ำสินธุ เชื่อกันว่าเป็นอารยธรรมของพวกดราวิเดียนซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในเขตนี้
ลักษณะเด่นของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ มีความเจริญในลักษณะสังคมเมือง มีการวางผังเมืองที่เป็นระเบียบ บ้านเรือน แต่ละหลังมีห้องน้ำ และมีท่อระบายน้ำเชื่อมต่อกับท่อระบายน้ำของเมือง นอกจากนี้บ้านบางหลังยังก่อสร้างสูงถึง 3 ชั้น วัสดุก่อสร้างทำด้วยอิฐซึ่งมีคุณภาพดีและมีขนาดเท่ากันทุกก้อน เหล่านี้ล้วนแสดงถึงภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างของพวกดราวิ เดียนในอดีต
ชาวลุ่มแม่น้ำสินธุยุคนี้ดำรงชีวิตด้วยการค้าและการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม หลักฐานที่พบจากการขุดค้นแสดงว่าพวกเขามีการติดต่อค้าขายกับดินแดนเมโสโปเต เมียตั้งแต่ราว 2300 ปีก่อนคริสต์ศักราช สินค้าที่ผลิตเพื่อจำหน่าย ได้แก่ ผ้าฝ้าย เครื่องปั้นดินเผาเขียนลวดลาย เครื่องทองแดงและทองเหลือง และเครื่องประดับที่ทำด้วยทองและเงิน นอกจากนี้ พวกเขายังรู้จักประดิษฐ์อักษรของตนเอง และมีความเชื่อทางศาสนา โดยนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ทั้งคน สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งของต่างๆ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเสื่อมสลายตั้งแต่ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วมเมือง และโรคระบาด หรืออาจถูกรุกรานจากชนชาติอื่น (อารยัน) ที่มีอำนาจเหนือกว่า
        อารยัน อารยัน เป็นอินโด-ยูโรเปียนเผ่าหนึ่ง เป็นพวกนักรบและมีอาชีพเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ได้รุกรานเข้ามาทางตะวันตกเฉยงเหนือของอินเดียตั้งแต่ประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือ 3500 ปีมาแล้ว จากนั้นได้เข้าครอบครองลุ่มแม่น้ำสินธุและขยายเข้าไปในลุ่มแม่น้ำคงคา ทำให้ชาวพื้นเมืองเดิมหรือพวกดราวิเดียนต้องถอยลงไปทางตอนใต้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัทราส (Madras) หรือเมืองเชนไน (Chennai) ปัจจุบัน
หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงอารยธรรมอารยันยุคแรกหรือยุคพระเวทตอนต้น (ประมาณปี 1500-1000 ก่อนคริสต์ศักราช) คือ คัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นทั้งบทสวดสรรเสริญบูชาเทพเจ้า หลักปฏิบัติในพิธีกรรมทางศาสนาและหลักปรัชญาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมสำคัญอีก 2 เรื่องคือมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ และรามายณะ ซึ่งให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันต่างๆ ของอินเดียโบราณโดยเฉพาะด้านการปกครอง สังคม และศาสนา อนึ่ง ภาษาที่ใช้ในวรรณกรรมเหล่านี้ คือ ภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาของพวกอารยัน ดังนั้นภาษาสันสกฤตจึงแพร่หลายสืบทอดต่อมาถึงปัจจุบัน
ในระยะแรก พวกอารยันมีการปกครองในลักษณะนครรัฐ แต่ละรัฐเป็นอิสระต่อกัน บางแห่งมีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้ปกครองและบางแห่งมีกษัตริย์ปกครอง แต่เนื่องจากอารยันเป็นชนชั้นปกครองและเป็นพวกอินโด-ยูโรเปียนจึงไม่ต้องการ ให้มีการผสมผสานทางเชื้อชาติกับชาวพื้นเมืองเดิมซึ่งแตกต่างจากตน พวกเขาได้กำหนดโครงสร้างของสังคมโดยจำแนกกลุ่มคนเป็น 4 วรรณะคือ วรรณะพราหมณ์ ซึ่งเป็นวรรณะสูงสุดผู้ประกอบพิธีกรรมและสืบทอดศาสนา รองลงมา คือ วรรณะกษัตริย์ เป็นชนชั้นปกครองหรือนักรบ วรรณะที่ 3 คือ วรณะแพศย์ เป็นสามัญชนทั่วไป และวรรณะศูทร ได้แก่ ชาวพื้นเมืองซึ่งทำหน้าที่รับใช้วรรณะอื่นๆ นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้มีการแต่งงานข้ามวรรณะ หากมีการฝ่าฝืน บุตรของผู้ที่แต่งงานข้ามวรรณะจะต้องเป็น พวกจัณฑาล ซึ่งมีสถานะต่ำที่สุด และไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในสังคมของวรณะอื่นๆ
ศาสนาของพวกอารยันคือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่นับถือเทพเจ้าสำคัญ 3 องค์คือ พระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจสูงสุด พระวิษณุหรือพระนารายณ์ซึ่งจะอวตารลงมาเกิดในโลกมนุษย์เพื่อดับทุกข์เข็ญ และพระพรหมผู้สร้างโลก พราหมณ์เป็นผู้ที่ติดต่อกับเทพเจ้าได้ด้วยการประกอบพิธีกรรมและร่ายบทสวด มนต์บูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท ดังนั้นจึงมีบทบาทสำคัญในสังคมอินเดีย อนึ่ง ศาสนายังสอนให้คนยอมรับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ทำให้ชาวอินเดียยอมรับชะตากรรมของตนในโลกปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการดำรงอยู่ในวรรณะที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่เกิด แล้วมุ่งทำความดีเพื่อจะได้หลุดพ้นจากวัฏสารนับว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมี อิทธิพลสำคัญต่อการหล่อลหอมความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตของชาวอินเดียมาก
หลังยุคพระเวท (ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือสมัยพุทธกาล) ได้เกิดอารยธรรมสำคัญขึ้นคือศาสนาพุทธและศาสนาเชน ชาวอินเดียบางส่วนได้หันไปเสื่อมใสศาสนาทั้งสอง ศาสนาพุทธกำเนิดในบริเวณที่เป็นประเทศเนปาลปัจจุบันเมื่อปี 543 ก่อนคริสต์ศักราช และเจริญรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (273-232 ก่อนคริสต์ศักราช) จากนั้นก็แพร่หลายในดินแดนอื่นๆ เช่น ศรีลังกา เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย
ประมาณปี 413-322 ก่อนคริสต์ศักราช อินเดียถูกรุกรานจากชนต่างชาติคือ เปอร์เซียและกรีก ต่อมาพวกเขาได้สถาปนาจักรวรรดิของพวกอารยันครั้งแรกในสมัยราชวงศ์เมารยะ (322-185 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ในช่วงคริสต์ศักราช กษัตริย์ของชาวอารยันแห่งราชวงศ์คุปตะ (ค.ศ.320-535) สามารถสถาปนาจักรวรรดิปกครองดินแดนของตนและพัฒนาความเจริญด้านต่างๆ ของอารยธรรมอินเดีย เป็นต้นว่า ศาสนา การศึกษา สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม กฎหมาย วิทยาการด้านการแพทย์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ ฯลฯ อารยธรรมเหล่านี้ได้แพร่หลายเข้าไปในดินแดนอื่นๆ และกลายเป็นรากฐานของอารยธรรมในดินแดนนั้นๆ ด้วย เช่น อารยธรรมไทย เขมร ฯลฯ
หลังจากนั้น อินเดียก็ถูกพวกมุสลิมซึ่งเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือรุกรานและปกครองนาน หลายร้อยปีจนกระทั่งสูญเสียอำนาจให้แก่อังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 แม้ว่าอินเดียถูกรุกรานและปกครองโดยชนชาติอื่นหลายกลุ่มนานหลายศตวรรษและทำ ให้อารยธรรมอินเดียมีลักษณะผสมผสานมากขึ้น แต่อารยธรรมสำคัญของพวกอารยันคือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และระบบวรรณะก็ยังคงเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของอารยธรรมอินเดียสืบนื่องต่อมา
    

       อารยธรรมอินเดียสมัยก่อนประวัติศาสตร์
หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ ขวานกำปั้น ทำด้วยหิน อายุประมาณ 400,000 ปี อยู่ในยุคหินเก่า ซึ่งผู้คนยังเร่ร่อนเก็บหาอาหาร ล่าสัตว์ รู้จักนำสุนัขป่ามาเลี้ยง ทำเครื่องมือหินให้ดีขึ้นในยุคหินกลางเมื่อราว 40,000 ปีล่วงมาแล้ว ครั้นถึงยุคหินใหม่เมื่อราว 7,000 ปีล่วงมาแล้วผู้คนเริ่มรู้จักการเพาะปลูก นำสัตว์มาเลี้ยง ปั้นหม้อ ภาชนะใส่อาหาร รู้จักทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่มและอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นหมู่บ้านกสิกรรม บ้านสร้างด้วยอิฐ นับถือแม่พระธรณีเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก
        อารยธรรมในยุคโลหะหรืออารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเริ่มเมื่อประมาณ 5,000 ปีล่วงมาแล้วโดยเป็นอารยธรรมของชาวอินเดียดั้งเดิม ที่เรียกว่า เผ่าทฺรวิฑ (Dravida) หรือทฺรวิฑเดียน (Dravidian) หรือทมิฬ ซึ่งอาศัยอยู่ในอินเดียมาตั้งแกต่ช่วงก่อนที่ชาวอินโด-ยูโรเปียน (พวกอารยัน) จะอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นผู้สร้างขึ้น ชาวเผ่าทฺรวิฑมีรูปร่างเล็ก ผิวคล้ำแหล่งอารยธรรมแม่น้ำสินธุอยู่ที่เมืองโมเฮนโจ-ดาโรและเมืองฮารัปปา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน)
            การขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองทั้งสองดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเจริญแบบ อารยธรรมเมือง ตัวเมืองมีการวางผังเป็นย่านใหญ่ๆ แต่ละย่านมีตรอกแคบๆ เป็นตัวเชื่อมมีป้อมหรือมีที่หมั่นประจำเมือง มีที่อาบน้ำสาธารณะ แสดงให้เห็นความเชื่อในการชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ก่อนประกอบพิธีกรรม มีระบบการระบายน้ำ มีย่านการค้า
              บ้านเรือนของคนที่มั่งคั่งเป็นบ้านสองชั้น สร้างด้วยอิฐ มียุ้งข้าว พืชที่สำคัญ คือ ข้าวสาลี ลูกเดือย ถั่ว งา ยังไม่มีหลักฐานว่ามีการปลูกข้าวเจ้า แต่มีการปลูกฝ้าย สัตว์เลี้ยงมี ควาย แกะ แพะ หมู สุนัข เป็ด ไก่ อาจรู้จักใช้มาแล้ว รู้จักใช้ทองแดง สำริด หลักฐานสำคัญ คือ ประติมากรรมรูปหญิงหรืออาจเป็นนางระบำ
               เรื่องสำคัญของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ ชาวเมืองมีพยัญชนะใช้หรือยัง มีการพบที่ประทับตรามากกว่า 2,000 ชิ้น ซึ่งอาจเป็นเครื่องหมายการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ตราประทับมักทำเป็นรูปสัตว์ เช่น วัว ควาย เสือ มีจารึกทำเป็นเครื่องหมาย ประมาณ 270 ตัว ซึ่งอาจเป็นเพียงเครื่องหมายหรือตัวอักษรแต่ยังก่อนอ่านไม่ได้ เครื่องหมายเหล่านี้อาจเป็นกำเนิดของตัวอักษรอินเดีย
                  ชาวเมืองในลุ่มแม่น้ำสินธุนับถือแม่ธรณี และเทพต่างๆ จำนวนมากเพราะมีรูปปั้นตุ๊กตาเล็กๆ จำนวนหนึ่ง ที่เด่นมาก คือ รูปปั้นเทวดามีขา และรูปปั้นครึ่งตัว อาจเป็นพระหรือประมุขเผ่าชน ห่มผ้าลายดอกเฉียงไหล่ ไว้เครามีที่คาดผมแยกออกจากห่วงกลมตรงกลางหน้าผากอารธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ สลายไปประมาณ 1,500 ปปีก่อนคริศต์ศักราช อาจเพราะภัยธรรมชาติ โรคระบาดหรือถูกพวกอินโด-ยูโรเปียน (พวกอารยัน) อพยพและรุกรานเข้ามาในอินเดียผ่านทางช่องเขาไคเบอร์คาดว่าพวกอารยันคงใช้ เวลาหลายร้อยปีกว่าที่จะพิชิตเจ้าของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุลงได้
                  พวกอารยะหรืออารยันมีผิวขาว จมูกโด่ง รูปร่างสูง ซึ่งแตกต่างจากชาวพื้นเมืองเดิม ชาวอารยันได้ยึดบ้านช่อง ทรัพย์สินของพวกทมิฬ ให้ชาวทมิฬเป็นผู้รับใช้ และถูกเรียกว่า ทาส ซึ่งเป็นที่มาของการเกิด วรรณะ’ (แปลว่าสีหรือสีผิว) เป็นการแยกชนชั้นโดยดูสีผิว และต่อมาเป็นการกำหนดหน้าที่อาชีพด้วยการเป็น นักรบ ทำหน้าที่ต่อสู้ป้องกันและขยายอำนาจ นักบวช ทำหน้าที่สวดมนต์อ้อนวอนต่อเทพเจ้าให้การทำงานประสบความสำเร็จ ชาวเมือง ทำหน้าที่เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย ต่อมาพวกนักรบจะเป็นวรรณะกษัตริย์ นักบวชเป็นวรรณะพราหมณ์ ชาวเมืองเป็นวรรณะไวศยะหรือแพศย์ และศูทรทำงานรับใช้ เป็นชนชั้นต่ำ
                    อารยธรรมของพวกอารยันที่สำคัญ คือ การแต่งบทสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าในพิธีบูชายัญโดยนักบวช และบทสรรเสริญนี้ถ่ายทอดต่อกันมาโดยการท่องจำ ครั้นถึงประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการรวบรวมและจัดระเบียบ แต่ก็ยังไม่มีการจดบันทึก จนกระทั่งราวศตวรรษที่ 8 หรือศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช อินเดียจึงเริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษร และมีการจดบันทึกคัมภีร์ทั้งหลาย
                       ประวัติศาสตร์อินเดียในช่วงนี้ เรียกว่า ยุคพระเวท (ประมาณ 1,500-900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ตามชื่อพระเวทที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวอารยัน คือ
 1. ฤคเวท เป็นบทสวดอ้อนวอนให้เทพเจ้าประทานชัยชนะแก่พวกตนเป็นบทสวดที่แต่งขึ้นในเวลาที่ยาวนาน
 2. ยชุรเวท เป็นคัมภีร์อธิบายวิธีประกอบพิธีบวงสรวง แต่งทีหลังคัมภีร์ ฤคเวท พิธีที่สำคัญ เช่น การบูชายันต์มนุษย์ การบูชาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เทพองค์สำคัญที่บูชายังเหมือนเดิม แต่ที่เพิ่มขึ้นมา คือ รุท.มหาเทวะ (คือพระศิวะในเวลาต่อมา)
 3. สามเวท เป็นบทสวดสำหรับหรับการทำพิธีบูชาด้วยน้ำโสมในพิธีของบ้านเมืองหรือของกษัตริย์
               คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท เรียกรวมกันว่า ตรีเวทหรือไตรเพท และคัมภีร์อถรรพเวทเกิดขึ้นภายหลัง เรียกรวมกันว่า จตุรเวท
 4. อถรรพเวท เป็นคัมภีร์ขึ้นที่หลัง มีลักษณะะคล้ายฤคเวทในส่วนนับถือเทพที่เป็นคุณต่อมนูษย์ แต่อถรรพเวทนับถือเทพและไม่ใช่เทพและไม่ใช่เทพทั้งที่ให้โทษแก่มนุษย์ เช่น ภูตผีปีศาจ ดังนั้นจึงต้องมีการบูชา
               อารยธรรมในด้านอื่นที่สำคัญ เช่น การมีกษัตริย์เป็นประมุข มีสภาช่วยในการปกครอง สังคมพื้นฐาน คือ ครอบครัวที่สามีเป็นใหญ่ เศรษฐกิจเป็นแบบกึ่งเลี้ยงสัตว์และกึ่งการเพาะปลูก สัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ได้แก่ วัว ม้า แกะ แพะ ชาวอารยันชอบดนตรี มีขลุ่ย พิณ กลอง ฉาบ มีฝีมือในการทำสำริดที่ดีกว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
                อารยธรรมยุคมหากาพย์ (ประมาณ 900-500 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เรียกตามชื่อมหากาพย์เรื่องที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย 2 เรื่อง คือ มหาภารตะ ซึ่งเป็นเรื่องมหาสงความที่ทุ่งกุรุเกษตร ใกล้กรุงเดลี ของราชวงศ์ 2 ราชวงศ์เผ่ากุรุที่ขัดแย้งกันกันเอง กับ รามายณะ (รามเกียรติ์) ซึ่งเป็นเรื่องการสงครามระหว่างความดีกับความชั่วมีพระรามหรือพระกฤษณะ ที่อวตารลงมาเกิดบนพื้นพิภพเป็นตัวแทนความดี กับทศกัณฐ์ซึ่งเป็นยักษ์เป็นตัวแทนแห่งความชั่วที่มาแย่งนางสีดา มเหสีของพระราม มหากาพย์ทั้งสองเเรื่องอาจมีเค้าความเป็นจริงอยู่ด้วยเพราะช่วงนี้พวกอารยัน ได้ขยายอำนาจต่อไปทางตะวันออกและไปตั้งอาณาจักรในเขตพาราณสีหรือดบริเเวณ ตั้งแต่แม่น้ำยมนาไปทางตะวันออกจนสุดเบงกอล แต่ยังคงเป็นอาณาจักรเล็กๆ อยู่ยังไม่ได้เป็นอาณาจักรขนาดใหญ่มีอำนาจมาก
              อารยธรรมในยุคนี้สืบต่อจากยุคพระเวทและเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการก่อตั้งอาณาจักรของเผ่าต่างๆ มีราชธานีที่ถาวร สภายังคงมีอยู่แต่มีอำนาจน้อยลง การค้าและงานฝีมือมีมากขึ้น มีช่างโลหะ ช่างทอ ช่างย้อมผ้า ช่างไม้ ช่างปั้นหม้อ การบันเทิงก็มีมากขึ้น มีนักกายกรรม นักระบำ หมอดู เป็นต้น พิธีอัศวเมธหรือการพลีกรรมด้วยม้าก็เกิดขึ้นในสมัยนี้



อ้างอิง


จัดทำโดย
นาย ณัฐวุธ  สืบพงค์  
ม.6/6  เลขที่ 19



1 ความคิดเห็น:

  1. Best Casinos and Gambling Apps In MI 2021 - MapYRO
    › casinos › details › casinos › details Looking for the best 천안 출장샵 casino apps 동두천 출장샵 in 제주도 출장안마 MI 2021? MapyRO has you 남원 출장안마 covered with exclusive deals 춘천 출장마사지 and reviews on the best MI casinos in MI.

    ตอบลบ